วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ที่นี่น่าไปมากนะครับขอบอก



 


ผู้ดูแลพื้นที่

นายชาตรี จันทกิจ นายกองค์
การบริหารส่วนตำบลคลองหาด
อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
โทร. 0 3744 5147
ถ้ำเพชรโพธิ์ทอง
ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย
คล้ายเพชรประดับมุก
อากาศในถ้ำถ่ายเท เย็นสบาย
มีห้องโถงสำหรับถ่ายภาพ 4 จุด
1)ประตูสู่ถ้ำเพชรโพธิ์ทอง
2) ห้องโถงอุโมงค์ใหญ่
3) ห้องมุขประดับเพชร
4) ประตู่สู่ปราสาทถ้ำฯ
นักท่องเที่ยวสามารถศึกษา
พืชสมุนไพรและพันธุ์ไม้หายาก
เช่น ต้นโมกราชินี กวาวเครือ
สลัดได บนเส้นทางเดินป่า
ระยะทาง 300 เมตร
มีฝูงค้างคาวและลิงป่าอาศัย
อยู่ใกล้ถ้ำ

กิจกรรมเสริม
-กินหอยหอมที่่บ้านเขาเลื่อม
-ชมทิวทัศน์ไทย-กัมพูชา

สิ่งอำนวยความสะดวก
1.มีชาวบ้านเป็น อปพร. (อาสา
สมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน)
คณะกรรมการหมู่บ้าน คอยดูแล
ความปลอดภัย
2.ไฟฟ้าแสงสว่างภายในถ้ำ
3.รถยนต์เข้าถึงบริเวณหน้าถ้ำ

ท่ากระบาก



เป็นอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จะปรับปรุงระบบชลประทานในเขตพื้นที่ราบเชิงเขา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร  เป็นเขื่อนดินสูง 17.50 เมตร  ยาว 720 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นป่าโปร่ง ปลูกต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ ทั้งไม้ยืนต้น และไม้ประดับ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับพักผ่อน

ปล. อันนี้ ข้อมูลน้อยมากอย่าว่ากันนะครับ

ตลาดโรงเกลือ


ประวัติตลาดโรงเกลือ

มารู้จักตลาดโรงเกลือกันครับ...

ตลาดโรงเกลือ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดคลองลึก ตั้งอยู่ที่บ้านโรงเกลือ ตำบลคลองลึก อำเภออรัญประเทศ ห่างจากตัวอำเภออรัญประเทศไปทางทิศตะวันออกด้วยทาง ลาดยางอย่างดีราว ๖ กิโลเมตร ลักษณะเป็นเรือนแถวไม้มุงสังกะสีแบ่งเป็นล๊อกๆ มีจำนวนร้าน ๑๓๘๐ แผง สินค้าส่วนใหญ่มาจากฝั่งเขมร มีทั้งสินค้าพื้นเมืองของเขมรเอง ของจีน รัสเซีย และสินค้าของไทยบ้างบางส่วน เช่นเครื่องทองเหลืองทั้งเก่าและใหม่ขัดเงา เครื่องกระเบื้อง ถ้วยชาม ผ้าราคาถูก เครื่องใช้ไฟฟ้า ปลากรอบ เครื่องจักสาน และเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย

ตลาดโรงเกลือ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด มูลค่าการเก็บภาษีศุลกากรในยุคที่การค้าเฟื่องฟู เคยเก็บภาษีได้มากเป็นลำดับที่ ๒ รองจากท่าเรือคลองเตยเท่านั้นเอง

ในอดีตตรงบริเวณนั้นเป็นสถานที่ใช้เก็บเกลือ เพื่อนำไปขาย ให้กับชาวกัมพูชานำไปใช้ทำปลาเค็ม ต่อมา ความจำเป็นต้องใช้เกลือลดน้อยลง ประกอบกับเกิดภัยการสู้รบภายในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 - 2536 ทำให้ชาวกัมพูชาประสบกับทุพภิกขภัย ประเทศไทย จึงได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ตลาดโรงเกลือจัดเป็นตลาดที่ขายเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 และได้ใช้คำว่า " ตลาดโรงเกลือ " แต่ในปัจจุบันตลาดโรงเกลือ ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นตลาดชายแดนที่มีขนาดใหญ่โตมาก มีสินค้าราคาถูกนานาชนิดทั้งของไทย เขมร เวียดนาม จีน มาวางขายให้กับประชาชนทั่วๆไปและนักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกัน ในแต่ละวันจะมีประชาชนเข้ามาจับจ่าย ซื้อของในตลาดโรงเกลือ เฉลี่ยวันละ 10,000 คนเป็นอย่างน้อยซึ่งถือได้ว่าเป็นตลาดการค้าชายแดน ที่ทำเงินรายได้เข้าประเทศที่ใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้

ที่ตั้งของตลาดโรงเกลือ
บ้านดงสูง หมู่ 7 ต. ป่าไร่ อ. อรัญประเทศ จ. สระแก้ว

ประวัติของตลาดโรงเกลือ
ในอดีตตลาดการค้าชายแดนฝั่งเขมร(กัมพูชา) หรือตลาดปอยเปต ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ อ. อรัญประเทศของไทย นับเป็นตลาดการค้าชายแดนสำคัญของชาวเขมร และเป็นแหล่งท่องเที่ยว

แนวชายแดนที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี นิยมข้ามแดนไปเที่ยวกันอย่างคึกคัก ตลาดปอยเปตต้องซบเซาลงเพราะเหตุการณ์สงครามของเขมรในอดีต เมื่อเหตุการณ์สงบลงปอยเปตกลับพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง แต่เป็นแหล่งบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของเขมร ในขณะเดียวกันตลาดการค้าขายชายแดนขยับย้ายข้ามมายังฝั่งไทย บริเวณที่เป็นโกดังเก็บเกลือเพื่อส่งไปขายในเขมร ชาวบ้านร้านถิ่นทั่วไปจึงเรียกตลาดโรงเกลือ มีการสร้างอาคารปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2534 บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว

เวลาเปิดทำการของตลาดโรงเกลือ
- เปิดทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น.
- มีจักรยานให้เช่าวันละ 20 บาท ร้านเช่าจักรยานมีตั้งอยู่หลายจุดของลานจอดรถ

สิ่งที่น่าสนใจ

ตลาดโรงเกลือ
มีพื้นที่กว้างขวางราว 66 ไร่ ปลูกโรงเรือนเรียงรายอย่างเป็นระเบียบกว่า 40 หลัง แต่ละหลังแบ่งเป็นแผงร้านค้านับหลายสิบร้าน หากรวมร้านค้าทั้งหมดทั่วตลาดจึงมีนับร้อยร้านทีเดียว บรรยากาศในตลาดโรงเกลือคล้ายตลาดนัดขนาดใหญ่ทั่วๆไป ผู้คนพลุกพล่านทั้งแม่ค้าลูกค้าและนักท่องเที่ยวเดินกันขวักไขว่

สินค้าที่น่าสนใจในตลาดโรงเกลือมีมากมายหลากหลายอย่างด้วยกัน ที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีคือ เป็นแหล่งเสื้อผ้ากระสอบ หรือเสื้อผ้ามือสองคุณภาพดีที่มีผู้ศรัทธาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา บริจาคให้แก่ผู้ยากไร้ในเขมร มีทั้งกางเกงยีน เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสื้อกันหนาว รองเท้าหนัง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าประเภทของเก่ามีขายน้อยลง และมีสินค้าประเภทเดียวกัน แต่เป็นของใหม่เลียนแบบยี่ห้อดังซึ่งผลิตในเขมรและเวียดนามเริ่มวางขายมาก ขึ้น

ที่น่าสนใจซื้อหาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสินค้าชนิดอื่นคือ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อย่างเครื่องจักสาน ทั้งที่ทำจากไผ่และหวายจากเขมร มีทั้งกระบุง ตะกร้า กระจาด ผลิตภัณฑ์ปลาน้ำจืดจากทะเลสาบเขมรอย่างปลาเนื้ออ่อน ปลาแดง ซึ่งมีทั้งแบบที่ย่างรมควันจนเป็นปลาแห้งและแบบขายเป็นปลาสด ปลาย่าง นอกจากนี้ยังมีของเล่นเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องกระเบื้อง ทั้งถ้วยชาม ชุดน้ำชาจากจีนและเวียดนาม ให้เลือกซื้อเลือกหากันเป็นจำนวนมากอีกด้วย

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอรัญประเทศ
ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่าประตูชัย ตั้งอยู่บริเวณตลาดโรงเกลือตรงแนวชายแดนระหว่างด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งสอง ฝั่งไทย-เขมร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2482 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในสงครามอินโดจีน-การรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์สยาม ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 ที่ไทยต้องเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสไป ได้แก่ ดินแดนสิบสองจุไทยในภาคเหนือ อาณาเขตประเทศลาวปัจจุบัน และดินแดนมณฑลบูรพา คือบริเวณที่เชื่อมต่อชายแดนส่วนนี้ซึ่งอยู่ในภาคเหนือของประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน ที่มีสถานที่สำคัญระดับโลกตั้งอยู่ คือ นครวัด นครธม และปราสาทเขาพระวิหาร

อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะคล้ายเสาหกเหลี่ยมขนาดใหญ่ สูงจากฐานถึงยอด 15 ม. แบ่งเป็นสามส่วน โดยชั้นล่างหรือฐานเป็นห้องรักษาการณ์ ส่วนชั้นที่ 2 ประดับประติมากรรมนูนสูงโดยรอบ เป็นเรื่องราวการสู้รบในสงครามไทยฝรั่งเศส ส่วนที่ 3 เป็นเสาหกเหลี่ยมสูง ประดับธงชาติไทย

หลังจากก่อสร้างอนุสาวรีย์เสร็จฝ่ายไทยก็ไม่ได้ใช้ป้อมประตูชัยนี้เป็นแนว เขตแดนเป็นเวลาหลายปี ด้วยชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสคราวนั้นเป็นผลให้ไทยได้ดินแดนมณฑลบูรพาคืนรวม ทั้งเมืองจำปาศักดิ์ในลาวด้วย กระทั่งในปี พ.ศ. 2489 ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนมณฑลบูรพากลับไปให้ฝรั่งเศส ป้อมประตูชัยจึงกลับมาทำหน้าที่เป็นแนวเขตประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะข้ามไปประเทศกัมพูชา

1. คนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอคลองลึก อำเภออรัญประเทศ อำเภอคลองหาดและอำเภอตาพระยา สามารถขอบัตรชายแดนไปเช้าเย็นกลับได้ ้ และผู้ถือบัตรผ่านแดนชั่วคราวชาวไทยสามารถเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ในจังหวัดบันเตียนเมียนเจย และจังหวัดเสียมราฐ แต่ไม่สามารค้างคืนได้

2. ผู้ถือบัตรผ่านแดนชั่วคราวชาวกัมพูชา สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทยได้ในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี แต่ไม่สามารถค้างคืนได้ สำหรับชาวกัมพูชาที่ถือหนังสือผ่านแดน ( Border Pass) สามารถพักค้างคืนที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

3. สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าไปยังราชอาณาจักร กัมพูชา จะต้องแสดงบัตรประชาชนและพาสปอร์ตโดยขอวีซ่าจากสถานทูตราชอาณาจักรกัมพูชา ประเทศไทย เพื่อที่จะเข้าไปท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ

4. นักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางเข้าไปในราชอาณาจักรกัมพูชา แบบไปเช้า-เย็นกลับ ในระยะทางไม่เกินป้อมยาม ต้องแสดงบัตรประชาชนและพาสปอร์ตควรติดต่อสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะเดินทางจากสถานทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทย สำนักงานจังหวัดสระแก้ว โทร. 0 3742 5066-7 ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภออรัญประเทศ โทร. 0 3723 1131 ศุลกากรอำเภออรัญประเทศ โทร. 0 3723 1214 และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลาง เขต 8 ทั้งนี้ ราชอาณาจักรกัมพูชาไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวนำกล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์เข้าไป รวมทั้งยังห้ามนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น ตาชั่ง สัตว์ป่า ผลิตผลจากสัตว์ป่า หอม และกระเทียม ทั้งจากประเทศไทยเข้าไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และจากราชอาณาจักรกัมพูชาเข้ามายังประเทศไทยด้วยเช่นกัน

อ่างเก็บน้ำ เขาสามสิบ


อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ จ.สระแก้ว อยู่ในความดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาป่าฉกรรจ์ (บ้านเขาสามสิบ) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำการฯ อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเขาสามสิบใกล้เชิงเขา มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ ดูดาว ดูนก เดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติวันนี้ทาง UpYim.com นำข้อมูล พร้อมภาพอ่างเก็บน้ำเขาสามสิบมาให้ดูกันค่ะ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลเขาสามสิบ จากอำเภอเมืองสระแก้วไปตาม ทางหลวงหมายเลข 317กิโลเมตรที่ 137-138 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร เลยวัดเขาสามสิบประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาป่าฉกรรจ์ (บ้านเขาสามสิบ) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำการฯ อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเขาสามสิบใกล้เชิงเขา มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ ดูดาว ดูนก เดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
โดยมีเจ้าหน้าที่และชาวบ้านนำทาง กิจกรรมที่นี่เรียกได้ว่าเป็นแบบ “ค่ำคืนดูดาว ตื่นเช้าดูนก”
มีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์ ติดต่อได้ที่หัวหน้าโครงการฯ โทร 08 1983 5987 หรือ โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาป่าฉกรรจ์ (บ้านเขาสามสิบ) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตู้ ปณ.20 อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000
วันเปิดทำการ: ทุกวัน /เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 16.30

สาวน้อยแห่งอ่างฤาใน

น้ำตกเขาตะกรุบ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน บริเวณเขาตะกรุบ บ้านคลองตะเคียนชัย ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น 

    เป็นน้ำตกขนาดใหญ่กลางป่าทึบ มีน้ำมากช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว (ราวเดือน ก.ค.-ธ.ค.) อยู่ห่างจากด่านตรวจประมาณ 2.8 กิโลเมตรเข้าไปยังน้ำตก ระหว่างทางอาจพบร่องรอยของช้างป่าที่มีชุกชุมในป่าแถบนี้ 

    น้ำตกเขาตะกรุบ มีความสูงถึง 50 เมตร สายน้ำไหลตกจากยอดเขาสูงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในฤดูฝนซึ่งน้ำมีมาก น้ำตกจะสวยงามเป็นพิเศษ บริเวณน้ำตกเป็นป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ มีไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมหนาแน่นและเฟินหลายชนิดขึ้นแทรกตามหลืบหินดูสวยงาม 

การเดินทาง
    รถยนต์ จากที่ว่าการอำเภอวังน้ำเย็น ใช้ทางหลวงหมายเลข 317 ไปทาง อ.วังสมบูรณ์ประมาณ 8 กิโลเมตร พบสี่แยก ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3259 ไปประมาณ 13 กิโลเมตร 

    จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3434 ไปอีก 13 กิโลเมตร พบสี่แยกบริเวณบ้านแสนสุข ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางอีก 11.5 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจให้ตรงไปอีก 2.8 กิโลเมตร จอดรถที่ล้านจอดรถแล้วเดินไปยังน้ำตก 

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


งานสืบสานวัฒนธรรมเบื้องบูรพา และงานกาชาดจังหวัดสระแก้ว ประจำปี 2556

สถานที่จัดงาน: 
บริเวณสนามด้านหลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
วันงานวันสุดท้าย: 
พฤหัสบดี, 7. กุมภาพันธ์ 2013
กำหนดการจัดงาน สืบสานวัฒนธรรมเบื้องบูรพา และงานกาชาดจังหวัดสระแก้ว ประจำปี 2556 ของจังหวัดสระแก้วออกมาอย่างเป้นทางการแล้วจร้าว่าจะมีจึ้นในวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2556  ณ  บริเวณสนามด้านหลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว งานนี้นอกจากกิจกรรมงานกาชาดที่จะมีรางวัลแจกมากมายแล้ว ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกด้วย และยังมีการเดินแบบราตรีผ้าไทยอีกด้วย ไปเที่ยวกันได้ครับ รายได้จากการจัดงานสมทบเข้ากองทุนเพื่อการกุศลของเหล่ากาชาด  จังหวัดสระแก้ว  
  
กิจกรรมภายในงาน
• ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
• ขบวนแห่ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น
• การเดินแบบราตรีผ้าไทย
• การแข่งขันกีฬาสามัคคี
• ซุ้มนิทรรศการนำเสนอวิถีชีวิตของท้องถิ่น และการสาธิตเพื่อให้ความรู้ในวิวัฒนาการด้านการเกษตร, เศรษฐกิจพอเพียง,  การปลูกพืชพลังงานทดแทน  
• การออกร้านมัจฉากาชาด และการออกรางวัลกาชาดสมนาคุณ
• ชมการแสดงดนตรีจากศิลปินดารา–นักร้องชื่อดัง
• ทำบุญปิดทองสักการะหลวงพ่อทอง


ฺัBY ## chatchaitwopee

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

น่าไปนะ วันไหลพระปรง





19 เมษายน วันไหลสระแก้ว ร่วมสรงน้ำขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 109 องค์ ใหญ่ที่สุดในประเทศ

19 เมษายน วันไหลสระแก้ว ร่วมสรงน้ำขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 109 องค์ ใหญ่ที่สุดในประเทศ
วัฒนธรรมจังหวัดเผยเพื่อส่งเสริมปีท่องเที่ยวสระแก้ว 2553  ปรับรูปแบบแห่สรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น เป็น ขบวนแห่สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 109 องค์” จากทั้งจังหวัดสระแก้ว  นายกฯ กู้ภัยฝากผู้เดินทางผ่านตัวเมืองสระแก้ววันที่ 19 เมษายนนี้ ให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น
   นางเกศินี สวัสดี วัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 19 เมษายนทุกปี เป็นวันแห่เจ้าพ่อพระปรง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดสระแก้วให้ความเคารพนับถือ  โดยคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อฯ ร่วมกับหน่วยงาน ทั้ง ท้องถิ่น ตำรวจ สาธารณสุข องค์กรภาคประชาชน อาทิ สมาคมรักษ์ปางสีดา สมาคมกู้ภัยสว่างสระแก้ว คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อพระปรง  จัดขบวนแห่สรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงจากศาลเจ้าพ่อฯ เขต อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รอยต่อกับจังหวัดสระแก้ว  มาตามถนนสุวรรณศรจนถึงศาลากลางจังหวัด ระยะทางกว่า 30 กม. เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสรงน้ำ ก่อนจะแห่กลับในตอนเย็น  ในระหว่างทางจะมีชาวสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาร่วมสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงและเล่นน้ำสงกรานต์กันเป็นจำนวนมาก จนเรียกได้ว่าเป็น วันไหลของจังหวัดสระแก้ว” เป็นการส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ที่ใหญ่ที่สุดและถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน
   ในปีนี้ คณะกรรมการฯ ได้จัดประชุมเตรียมงานไปเมื่อเร็วๆนี้  โดยในปีนี้รูปแบบการจัดขบวนแห่จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยจะปรับรูปแบบให้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น สอดรับกับปีท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว ไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดได้ประสานงานกับวัดต่างๆ ในทุกอำเภอ  เพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หรือพระเกจิอาจารย์ชื่อดังซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในแต่ละพื้นที่ จำนวน 109 องค์ มาประดิษฐานบนรถร่วมขบวนแห่กับเจ้าพ่อพระปรง  ภายใต้ชื่องาน สายน้ำแห่งศรัทธา สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 109 องค์” โดยขบวนพระจะมาสมทบกับขบวนเจ้าพ่อพระปรงที่ตลาดผัก ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว เรื่อยไปจนถึงศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ความยาวเกือบ 1 กิโลเมตร เป็นขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เพื่อต้องการให้ประชาชนได้สรงน้ำพระศักดิ์สิทธิ์จากทั้งจังหวัด เพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อให้ประชาชนรู้รักสามัคคีด้วยประเพณีไทย นำไปสู่ประเทศชาติสงบร่มเย็น
  วัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว กล่าวอีกว่า จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดสระแก้วและนักท่องเที่ยวได้มาร่วมสรงน้ำพระในงาน สายน้ำแห่งศรัทธา สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์109 องค์” หรือวันไหลจังหวัดสระแก้ว ในวันที่ 19 เมษายน 2553 ตามถนนสุวรรณศรจากศาลเจ้าพ่อพระปรงมายังศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป และเวลา 16.00 น. ขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 109 องค์ จะมาจอดภายในศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้วให้ประชาชนได้มาร่วมสรงน้ำ
   นายวิวัฒน์ ลีลาลลิตเลิศ นายกสมาคมกู้ภัยสว่างสระแก้ว เปิดเผยว่า เนื่องจากปีนี้รูปแบบขบวนเปลี่ยนไปจากเดิม เส้นทางการเคลื่อนขบวนก็จะเปลี่ยนไปด้วย  โดยขบวนจะออกจากศาลเจ้าพ่อพระปรง เวลา 10.00น. ก่อนเข้าชุมชนบ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว แล้วมาตามถนนสุวรรณศร เมื่อมาถึงตำบลศาลาลำดวน ขบวนจะไม่เข้าไปในตลาดเหมือนเมื่อก่อน แต่จะค่อยๆ เคลื่อนไปตามถนนสุวรรณศร เพื่อสมทบกับขบวนพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ตลาดผักศาลาลำดวน เป็นขบวนใหญ่มากขึ้น แล้วจึงจะเคลื่อนไปสู่ตลาดสระแก้วก่อนไปจอดที่ศาลากลางจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ข้าราชการและประชาชนได้ร่วมสรงน้ำ  จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนต่างๆ เพื่อความเข้าใจและในปีนี้ยังได้ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรเมืองสระแก้วคอยอำนวยความสะดวกการจราจรและดูแลรักษาความเรียบร้อยแก่ผู้มาร่วมงาน  โดยขอให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่จะเดินทางมาตามถนนสุวรรณศรผ่านตัวเมืองสระแก้ว ในวันที่ 19 เมษายน 2553 ตั้งแต่เวลา 11.00-18.00 น. ได้โปรดเลี่ยงไปใช้เส้นทางจราจรอื่น เนื่องจากจะมีผู้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

น้ำตกปางสีดา



น้ำตกปางสีดา มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844ตารางกิโลเมตร หรือ 527,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 อาณาเขตทางด้านทิศเหนือทั้งหมดกับด้านทิศตะวันตกบางส่วนมีแนวป่าต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติทับลาน สภาพป่าเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้าเป็นต้น เป็นป่าที่มีความสมบูรณ์ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น กระทิง ช้าง เก้ง กวาง หมูป่า นกเงือก นกยูง นกขุนทองและมีผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ตลอดทั้งปี
เป็นแหล่งจระเข้น้ำจืดที่ยังเหลืออยู่ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสายเช่น ห้วยโสมง ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ห้วยยาง ห้วยเลิงไผ่ ฯลฯ ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกภายในอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่
น้ำตกปางสีดา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 800 เมตร เป็นน้ำตกที่ไหลจากหน้าผา 3 ชั้น สูงประมาณ 8 เมตร ตัวน้ำตกไหลลงสู่เบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างใหญ่และลานหิน บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การเล่นน้ำ และมีน้ำมากในฤดูฝน
น้ำตกผาตะเคียน อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากน้ำตกปางสีดาประมาณ 2.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางเท้าได้ 2 เส้นทาง มีป้ายบอกตลอดเส้นทางทุก ๆ 300 เมตร ตลอดเส้นทางขึ้นสู่น้ำตกร่มรื่นด้วยแมกไม้หนาทึบ เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายที่อยู่สายเดียวกับน้ำตกปางสีดา น้ำตกทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ทุ่งหญ้าโป่งกระทิง เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าที่กลายเป็นทุ่งหญ้ารกร้าง ภายหลังอพยพผู้คนออกไป มีลักษณะคล้ายทุ่งหญ้าที่มอสิงโตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสัตว์ป่าออกหากินบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ทางอุทยานฯ ได้ทำโป่งเทียมและหอดูสัตว์ไว้ จากถนนภายในอุทยานฯมีทางแยกบริเวณกิโลเมตรที่ 3.5 และกิโลเมตรที่ 6 แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 2กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งกระทิงซึ่งมีโป่งธรรมชาติที่อาจพบสัตว์ป่าได้ไม่ยาก
จุดชมวิว เป็นหุบเขากว้าง ห่างจากที่ทำการไปประมาณ กิโลเมตรที่ 25และกิโลเมตรที่ 35 สามารถชมภูมิประเทศโดยรอบ และชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกได้ สามารถขับรถไปได้จากที่ทำการอุทยานฯ
กลุ่มน้ำตกแควมะค่า จากที่ทำการอุทยานฯ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 40 ให้เดินเท้าต่ออีกประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวน้ำตกทิ้งตัวจากหน้าผาสูงประมาณ 70 เมตร เหมาะสำหรับเดินป่า และสามารถกางเต็นท์ได้ ใกล้ ๆ กันยังมีน้ำตกรากไทรย้อย ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 500 เมตร น้ำตกลานหินใหญ่ ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 1.5 กิโลเมตร น้ำตกสวนมั่น สวนทอง ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 3 กิโลเมตร และน้ำตกม่านธารา ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 4 กิโลเมตร กลุ่มน้ำตกแห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นกลุ่มน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนป่า